บทความเรื่อง “เรือนไทยบ้านเรามีกี่ประเภท” โดยคุณยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ ผู้เขียหนังสือร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง เล่ม 5 ฉบับภูมิปัญญาช่างไทย…

หลายท่านที่มองเผินๆเกี่ยวกับเรือนไทย ก็มักจะเห็นเพียงบางจุดของเรือน ไทยเท่านั้น คือ การยกใต้ถุนสูงและมีหลังคาแหลมลาดชัน แต่อาจจะยังไม่สามารถแยก ออกว่าเรือนไทยนั้นมีกี่ประเภท หากอยากจะเป็นเจ้าของเรือนไทยสักหลัง น่าจะเลือก แบบใด หรือบางท่านไปซื้อเรือนไทยโบราณมาประกอบใหม่ บางท่านก็ไปลอกแบบของ เรือนไทยที่ท่านชอบมาใช้ บางครั้งก็จะใช้สอยได้สมบูรณ์ บางครั้งก็ขาดเกินไป จึงน่าจะ เข้าใจก่อนว่าเรือนไทยเรานั้นมีการแบ่งประโยชน์หรือลักษณะการใช้สอยอย่างไร ซึ่งท่าน อาจารย์ ฤทัย ใจจงรัก ปราชญ์ผู้รู้เกี่ยวกับเรือนไทยเดิม ท่านได้แบ่งประเภทของเรือน ไทยออกเป็น ๗ ประเภท คือ

๑. เรือนครอบครัวเดี่ยว เหมาะสำหรับครอบครัวเดี่ยวที่ลูกยังไม่แต่งงาน

๒. เรือนครอบครัวขยาย คือ ลูกหลานมีวัยแต่งงานแล้ว ก็เป็นหลาย ครอบครัวอยู่ด้วยกัน

๓. เรือนคหบดี หมายถึง ผู้ที่มีอันจะกิน บ้านใหญ่โต มีกิจกรรมหลาย อย่างเกินความจำเป็นพื้นฐาน

๔. กุฏิ หมายถึง ที่พักของพระสงฆ์ที่มีขนาดเล็กสมถะ

๕. เรือนร้านค้าริมน้ำ ตั้งอยู่ริมน้ำ มีกิจกรรมเพื่อการค้าขาย และกิน อยู่ หลับ นอนด้วย

๖. เรือนแพ หมายถึง เรือนที่สร้างอยู่ในน้ำ อยู่บนแพทั้งหลัง

๗. เรือนร้านค้าริมทาง คล้ายกับเรือนร้านค้าริมน้ำ แต่มีความละเอียด อ่อนน้อยกว่า

เรือนไทยแต่ละชนิดจะสร้างด้วยจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน ใช้ภูมิปัญญาและ ปรัชญาบางประการที่แตกต่างกัน หากเมื่อเราทราบว่าเรือนหลังไหนมีกิจกรรมอย่างไร เราจะเห็นภูมิปัญญาไทยชัดเจนขึ้น เมื่อทราบภูมิปัญญาเหล่านั้นพอประมาณแล้ว เราก็ สามารถหันกลับไปใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมของเรา เพื่อประโยชน์ในวันนี้อย่างแหลมคม

 

ใส่ความเห็น